วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


E-Mail คืออะไร


                E-Mail ย่อมาจาก  EIectronic-Mail คือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet )การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า E-mail Address เป็นหลักในการรับส่ง แต่ถ้าในกรณีที่เป็นการส่งอีเมล หรือข้อความโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับ เราเรียกว่า Spam  และเรียก อีเมลนั้นว่าเป็น spam mail

ประโยชน์ของ E-Mail
1.รวดเร็ว เชื่อถือได้
2.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง และลดการใช้กระดาษ
3.ลดเวลาในการส่งเอกสารลง เพราะผู้ส่งไม่ต้องเสียเวลาไปส่งเอง หรือรอไปรษณีย์ไปส่งให้
4.ผู้ส่งสามารถส่งเอกสารได้ตลอดไม่จำกัดเวลา หรือระยะทางในการส่ง ในขณะที่ผู้อ่านก็สามารถเปิดอ่านเอกสารได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
5.สามารถส่งต่อกันได้สะดวก และผู้ส่งสามารถส่งให้ผู้รับได้พร้อมๆกันหลายคนในเวลาเดียวกัน

ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น  การได้รับมอบหมายงานจากครูให้หาเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์แล้วให้ส่งงานไปทาง  E-Mail



ความหมายของ e-Learning

                e-Learning (Electronic learning) คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของ E-learning ถูกตีความต่างกันไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่มีส่วนที่เหมือนกันคือใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนาตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สำหรับผู้เขียนให้ความหมายของ E-learning ว่าเป็น "การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล"
                คำว่า E นั้นย่อมาจาก Electronic ส่วนคำว่า learning มีความหมายตรงตัวว่าการเรียนรู้ เมื่อนำมารวมกันหมายถึงการเรียนรู้โดยใช้ electronic หรือ internet เป็นสื่อ คำที่มีความหมายใกล้เคียงเช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนบนเว็บ (WBI = Web-based Instruction)
#1 อีเลินร์นิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ โดยมีการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีตลอดเวลา
#2 อีเลิร์นนิ่ง คือ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
#3 อีเลิร์นนิ่ง คือ การใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเข้ามาส่งเสริมการเรียน การสอน ให้เกิดประสิทธิผล คำที่มีความหมายใกล้เคียงกับอีเลิร์นนิ่ง เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI = Computer Assisted Instruction) หรือ การสอนโดยใช้เว็บเป็นฐาน (WBI = Web-based Instruction) หรือ การเรียนรู้โดยใช้เว็บเป็นฐาน (Web-based Learning)

องค์ประกอบของ e-Learning
1. ระบบจัดการการศึกษา (Education Management System)
ไม่ว่าระบบใดในโลกก็ต้องมีการจัดการ เพื่อทำหน้าที่ควบคุม และประสานงาน ให้ระบบดำเนินไปอย่างถูกต้อง องค์ประกอบนี้สำคัญที่สุด เพราะทำหน้าที่ในการวางแผน กำหนดหลักสูตร ตารางเวลา แผนด้านบุคลากร แผนงานบริการ แผนด้านงบประมาณ แผนอุปกรณ์เครือข่าย แผนประเมินผลการดำเนินงาน และทำให้แผนทั้งหมด ดำเนินไปอย่างถูกต้อง รวมถึงการประเมิน และตรวจสอบ กระบวนการต่าง ๆ ในระบบ และนำหาแนวทางแก้ไข เพื่อให้ระบบดำเนินต่อไปด้วยดี และไม่หยุดชะงัก
2. เนื้อหารายวิชา เป็นบท และเป็นขั้นตอน (Contents)
หน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้สอนคือ การเขียนคำอธิบายรายวิชา วางแผนการสอน ให้เหมาะสมกับเวลา ตรงกับความต้องการของสังคม สร้างสื่อการสอนที่เหมาะสม แยกบทเรียนเป็นบท มีการมอบหมายงานเมื่อจบบทเรียน และทำสรุปเนื้อหาไว้ตอนท้ายของแต่ละบท พร้อมแนะนำแหล่งอ้างอิงเพิ่มเติมให้ไปศึกษาค้นคว้า                                                                                                                                       3. สามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Communication)
ทุกคนในชั้นเรียนสามารถติดต่อสื่อสารกัน เพื่อหาข้อมูล ช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือตอบข้อซักถาม เพื่อให้การศึกษาได้ประสิทธิผลสูงสุด สื่อที่ใช้อาจเป็น E-mail, โทรศัพท์, Chat board, WWW board หรือ ICQ เป็นต้น  ผู้สอนสามารถตรวจงานของผู้เรียน พร้อมแสดงความคิดเห็นต่องานของผู้เรียน อย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยผลการตรวจงาน เพื่อให้ทุกคนทราบว่า งานแต่ละแบบมีจุดบกพร่องอย่างไร เมื่อแต่ละคนทราบจุดบกพร่องของตน จะสามารถกลับไปปรับปรุงตัว หรืออ่านเรื่องใดเพิ่มเติมเป็นพิเศษได้
4. วัดผลการเรียน (Evaluation)
งานที่อาจารย์มอบหมาย หรือแบบฝึกหัดท้ายบท จะทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ และเข้าใจเนื้อหาวิชามากขึ้น จนสามารถนำไปประยุกต์ แก้ปัญหาในอนาคตได้ แต่การจะผ่านวิชาใดไป จะต้องมีเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อวัดผลการเรียน ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้เรียนผ่านเกณฑ์ จากสถาบันใด ถ้าไม่มีการสอบก็บอกไม่ได้ว่าผ่านหรือไม่ เพียงแต่เข้าเรียนอย่างเดียว จะไม่ได้รับความเชื่อถือมากพอ เพราะเรียนอย่างเดียว ผู้สอนอาจสอนดี สอนเก่ง สื่อการสอนยอดเยี่ยม แต่ผู้เรียนนั่งหลับ หรือโดดเรียน ก็ไม่สามารถนำการรับรองว่าเข้าเรียนนั้น ได้มาตรฐาน เพราะผ่านการอบรม มิใช่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจากการสอบ ดังนั้นการวัดผลการเรียน จึงเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่จะนำผลการสอบไปใช้งานได้ ดังนั้น E-learning ที่ดีควรมีการสอบ ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่
ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น  การเข้าไปทำแบบฝึกหัดในเรื่องที่ต้องการจะเรียนพร้อมทั้งสามารถประเมินผลได้ทันทีที่ทำเสร็จ  ลองเข้าไปทำได้ที่  http://elearning.nectec.or.th/

สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


บล็อก (BLOG)  คืออะไร

                บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

ลักษณะของสื่อใหม่
-กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
-มีลักษณะเป็น Interactive
-ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
-เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
-เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เป็นช่องทางหนึ่งที่ครูสามารถใส่เนื้อหาที่ต้องการสอนให้เด็กศึกษาเพิ่มเติมได้ในเรื่องนั้นๆ เช่น http://wipawadeehan.blogspot.com/  เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556



ความหมายของ e-Book
                e-Book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึงหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป

โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album
2. โปรแกรม DeskTop Author
3. โปรแกรม Flash Album Deluxe

ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น ใช้สอนทำหนังสือโดยใส่เนื้อหาที่เราต้องการลงไปและตกแต่งได้ตามใจชอบหรือตามที่ได้รับมอบหมายจากครู หรืออาจจะทำเป็นหนังสือรุ่นตอนจบก็ได้ เป็นต้น
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


Web Quest คืออะไร ?
         สำหรับ Web Quest  เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ โดยใช้ ICT เป็นฐานการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ บนเครือข่ายอินเทรอืเน็ต ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องวิเคราะห์เนื้อหาสาระที่ได้จากการเรียนด้วยตนเอง การใช้ web quest ยังเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการแก้ปัญหา เป็นวิธีการเรียนที่เน้นความสำคัญที่ผู้เรียน
องค์ประกอบ Web Quest :
        การจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ด้วย Web Quest ได้นั้นผู้สอนควรทราบถึงองค์ประกอบหลักในการจัดสภาพแวดล้อมของผู้เรียน โดยต้องคำนึงถึง การออกแบบ การวางแผนการสอน และการพัฒนาบทเรียน(Web Quest) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้
1. ชื่อเรื่อง
2. เลือกการออกแบบ
3. เครื่องมือในการพัฒนา
4. การสร้างเครื่องมือการประเมิน
5. การพัฒนากระบวนการ
6. การทดสอบ / เผยแพร่
7. การประเมินผล
        สำหรับผู้สอนที่ต้องการพัฒนาเนื้อหาบทเรียนผ่าน Web Quest ท่านสามารถใช้เครื่องมือ (Authoring Tool) เพื่อทดลองสร้าง ผมขอแนะนำเว็บไซต์ http://www.teach-nology.com/web_tools/web_quest/  เว็บไซต์นี้มีขั้นตอนการสร้าง Web Quest เพียง 3 ขั้นตอนง่ายๆ เท่านั้น คือ
1) STEP #1: HEADING AND TITLE : ป้อนชื่อเรื่อง / ชื่อผู้สอน / หัวข้อของ Web Quest
2) STEP #2 : PICTURE : เลือกรูปภาพ
3) STEP #3: CONTENT OF WEB QUEST : ป้อนเนื้อหาให้ครบทั้ง 6 ขั้นตอนย่อย
หลังจากป้อนข้อมูลครบ 3 ขั้นตอนข้างบนแล้ว ก็คลิกที่ปุ่ม GENERATE-WEB QUEST เท่านี้ท่าน(ผู้สอน) ก็จักได้ Web Quest อย่างง่ายตามต้องการ
ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  Web Quest เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายมากในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยเรานั้นยังนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนค่อนข้างน้อย จะมีบ้างก็ในสถาบันอุดมศึกษา ท่านศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.webquest.org 
ที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/135279
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

Videoconference


การประชุมทางไกล (Videoconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องโทรทัศน์ 
และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เป็นการประชุมที่ผู้เข้าร่วมประชุมอยู่กันคนละสถานที่ ไม่จำกัดระยะทาง สามารถประชุมร่วมกันและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ การส่งข้อความและภาพสามารถส่งได้ทั้งทางสายโทรศัพท์ คลื่นไมโครเวฟ สายไฟเบอร์ออฟติกของระบบเครือข่าย และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยการบีบอัดภาพ เสียงและข้อความ กราฟิกต่างๆ ไปยังสถานที่ประชุมต่างๆ ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเห็นภาพและข้อความต่างๆ เพื่ออภิปรายร่วมกันได้เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพ 

ความสำคัญ 
Video conference หรือการประชุมทางไกล ถูกออกแบบมาเพื่อให้คนหรือกลุ่ม คน ซึ่งอยู่กันคนละสถานที่
สามารถติดต่อกันได้ทั้งภาพและเสียง โดย ผ่านทางจอภาพซึ่งอาจเป็นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ผู้ชมที่ฝั่งหนึ่งจะเห็นภาพของอีกฝั่งหนึ่งปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ของ ตัวเองและ ภาพของตัวเองก็จะไปปรากฏยังโทรทัศน์ของฝั่งตรงข้ามเช่นเดียวกัน คุณภาพของภาพและเสียงที่ได้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางสื่อสารที่ ใช้เชื่อมต่อระหว่างทั้งสองฝั่งอุปกรณ์ที่ต้องมีในระบบประชุมทางไกลนี้ ก็ ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์, ลำโพง, ไมโครโฟน, กล้อง และอุปกรณ์ Codec ซึ่งเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟน ส่ง ผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่ง รวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับ มาอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพงนั่นเองเส้นทางสื่อสารขนาด 384 Kbps ขึ้นไปก็สามารถให้คุณภาพภาพในระดับที่ยอมรับได้ โดยอาจใช้ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISDN หรือ ATM เป็นต้น ข้อดีของการประชุมทางไกล คือ สามารถให้ความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งจะประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย และยังช่วยแก้ปัญหาจราจรได้ทางหนึ่ง การติดตั้งระบบ Video Conference
                ระบบ Video Conference นี้ จะช่วยให้งานประชุมหรืองานการเรียน การสอนที่อยู่ต่างสถานที่กันในหลายจุดได้มาประชุมเสมือนอยู่ในห้อง เดียวกัน มีประธานในการประชุม สามารถ share งานต่างๆ ในแต่ละจุดให้เห็นเหมือนกัน เสนอผ่านความเห็นต่างๆ ได้ เช่น การ Share Whiteboard, PowerPoint, Worksheet เป็นต้น งานประชุมหรืองานการเรียนการสอน สามารถดำเนินไปได้ อย่างสะดวกรวดเร็ว ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น การศึกษาของเด็กที่อยู่ห่างไกลโดยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมที่สามารถดูการเรียนการสอนไปพร้อมๆกับต้นทางได้โดยมีครูเป็นผู้ควบคุมหรือการประชุมของครูที่อยู่กันคนละที่แต่สามารถคุยเห็นหน้ากันได้

ที่มา
: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2538df7ac1d0a318
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


Social Media คืออะไร


                สำหรับในยุคนี้ เราคงจะหลีกเลี่ยงหรือหนีคำว่า Social Media ไปไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหน ก็จะพบเห็นมันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งหลายๆ คนก็อาจจะยังสงสัยว่า “Social Media” มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะมารู้จักความหมายของมันกันครับ
คำว่า “Social” หมายถึง สังคม ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงสังคมออนไลน์ ซึ่งมีขนาดใหม่มากในปัจจุบัน
คำว่า “Media” หมายถึง สื่อ ซึ่งก็คือ เนื้อหา เรื่องราว บทความ วีดีโอ เพลง รูปภาพ เป็นต้น
ดังนั้นคำว่า Social Media จึงหมายถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่มีการตอบสนองทางสังคมได้หลายทิศทาง โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต พูดง่ายๆ ก็คือเว็บไซต์ที่บุคคลบนโลกนี้สามารถมีปฏิสัมพันธ์โ้ต้ตอบกันได้นั่นเอง
                พื้นฐานการเกิด Social Media ก็มาจากความต้องการของมนุษย์หรือคนเราที่ต้องการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กัน จากเดิมเรามีเว็บในยุค 1.0 ซึ่งก็คือเว็บที่แสดงเนื้อหาอย่างเดียว บุคคลแต่ละคนไม่สามารถติดต่อหรือโต้ตอบกันได้ แต่เมื่อเทคโนโลยีเว็บพัฒนาเข้าสู่ยุค 2.0 ก็มีการพัฒนาเว็บไซต์ที่เรียกว่า web application ซึ่งก็คือเว็บไซต์มีแอพลิเคชันหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีการโต้ตอบกับผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ใช้งานแต่ละคนสามารถโต้ตอบกันได้ผ่านหน้าเว็บ

เว็บไซต์ ที่ให้บริการ Social Network หรือ Social Media

- Google Group – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking

- Wikipedia – เว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง

- MySpace – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking

- Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking

- MouthShut – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews
-Yelp – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews
-Youmeo – เว็บที่รวม Social Network
-Last.fm – เว็บเพลงส่วนตัว Personal Music
-YouTube – เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ
-Avatars United  – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking
-Second Life – เว็บไซต์ในรูปแบบโลกเสมือนจริง Virtual Reality
-Flickr – เว็บแชร์รูปภาพ

ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น การทำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์แล้วให้ส่งผ่านทาง Social Media  เช่น Facebook (เพื่อให้เพื่อนสามารถคอมเม้นได้) e-mail หรือหางานจาก Google  Wikipedia YouTube  เป็นต้น

สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556


แท็บเล็ท (Tablet)

ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้คุณสามารถพกติดตัวได้โดยวัตถุประสงค์เพื่อทดแทนสมุดหรือกระดาษ
                "แท็บเล็ต - Tablet" ในความหมายแท้จริงแล้วก็คือแผ่นจารึกที่เอาไว้บันทึกข้อความต่างๆโดยการเขียน (อาจจะเป็นกระดาษ, ดิน, ขี้ผื้ง, ไม้, หินชนวน) และมีการใช้กันมานานแล้วในอดีต แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดนี้ขึ้นมาแทนที่ซึ่งมีหลายบริษัทได้ให้คำนิยามที่แตกต่างกันไป หลักๆแล้วก็มี 2 ความหมายด้วยกันคือ "แท็บเล็ต พีซี - Tablet PC (Tablet Personal Computer)" และ "แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ - Tablet Computer" หรือเรียกสั้นๆว่า "แท็บเล็ต - Tablet"
                ในปัจจุบันถูกพัฒนาให้มีความสามารถใกล้เคียงเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คเลยทีเดียว เครื่องแท็บเล็ตพีซี มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถถือได้ด้วยมือเดียวและน้ำหนักเบากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค

ตัวอย่างที่ใช้ในการเรียนการสอน  เช่น การนำแท็บเล็ตมาใช้กับเด็ก ป.1 ซึ่งในนั้นจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการศึกษาของระดับเด็ก ป.1 ซึ่งเด็กจะสนใจมากขึ้นเพราะเด็กได้ลองคิดสัมผัสด้วยตัวเองหรือการนำมาใช้กับนักศึกษาในการเรียนการสอน

สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556

วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


          การพัฒนาครูด้วยหลักพุทธธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา รศ.วนิช สุธารัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา


การพัฒนาครูด้วยหลักพุทธธรรมเป็นสิ่งหนึ่งที่นักศึกษาครูรุ่นใหม่จะต้องศึกษาเรียนรู้ เพราะเล็งเห็นปัญหาทางด้านศีลธรรม  จริยธรรมในสังคมไทยที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจที่ดีและทำให้มีสมาธิสามารถใช้ในการปรับกับการสอนได้ดียิ่งขึ้น  ผู้สอนได้นำหลักไตรสิกขา  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  มาฝึกและสร้างระเบียบให้กับนักศึกษาในชั้นเรียนและต่อเนื่องจนถึงที่บ้าน  ส่งผลให้เกิดการพัฒนาตนทางด้านกาย  ใจ  และจิตวิญญาณให้กับนักศึกษา และยังสามารถสอนให้เด็กรู้จักการฝึกฝนสมาธิซึ่งจะช่วยให้เด็กมีความตั้งใจที่จะศึกษาเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กเอง ทั้งนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่ใจดีทุกๆคนด้วย เช่น ครู พ่อแม่ และพระหรือวัด เป็นต้น

ที่มา : โทรทัศน์ครู
สืบค้นเมื่อวันที่  4 กุมภาพันธ์ 2556


ทำไมมดถึงรู้ว่าอาหารอยู่ไหนได้


 

มันใช้อะไรดม มันรู้ได้ยังไง อาหารอยู่ตั้งไกล

            จากการศึกษาพบว่ามดสื่อสารกันโดยใช้อวัยวะที่เรียกว่าหนวดสัมผัสกันและใช้ สารเคมีที่ปล่อยออกมา นักวิทยาศาสตร์บางท่านยังเชื่อว่ามดบางชนิดสามารถใช้เสียงสื่อสารกันได้ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่ามดบางชนิดเมื่อไปพบแหล่งอาหารก็จะปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่ง ออกมาจากต่อมภายนอก (Exocrine gland) ที่เรียกว่าต่อมดูเฟอร์ (Dufoue's gland) สารเคมีชนิดนี้เรียกว่าฟีโรโมน มดจะปล่อยฟีโรโมนขณะเดินไปพบอาหาร และยังพบอีกว่า ฟีโรโมนนี้จะระเหยได้ทำให้ปริมาณของฟีโรโมนจะจางลงไปเรื่อยๆ ฟีโรโมนของมดบางชนิดจะจางหายไปในเวลาไม่เกิด 100 วินาทีซึ่งการระเหยของสารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อการสื่อสารของมด กล่าวคือถ้าแหล่งอาหารเก่าหมด เจอแหล่งอาหารใหม่ มดจะสามารถติดตามกลิ่นใหม่ไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง ไม่สับสนกับกลิ่นเดิม นอกจากนี้ยังพบว่ามดชอบเดินตามรอยฟีโรโมนที่มีกลิ่นแรงมากกว่ากลิ่นที่จาง
Beckers, Deneuberg และคณะ พบว่ามดสามารถหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากรังไปสู่แหล่งอาหารได้ ถึงแม้จะมีสิ่งอื่นมารบกวนระหว่างเส้นทางที่เดินทางก็ตาม ดังตัวอย่างการทดลองนำอาหารไปไว้ใกล้รังมด เขาพบว่ามดจะเดินตามกันไปและกลับตามเส้นตรงที่ลากไว้ระหว่างรังกับอาหาร ดังภาพ
การเดินตามกันไปนี้มดจะเดินตามกลิ่นของฟีโรโมนที่มดตัวหน้าปล่อยไว้ เพราะฉะนั้นปริมาณฟีโรโมนตามเส้นทางจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามจำนวนมดที่เดินไป ถึงแม้จะมีบางส่วนระเหยไปบ้างก็ตาม และพบว่ามดจะเดินไปตามเส้นทางที่มีปริมาณฟีโรโมนเข้มข้นกว่าเส้นทางที่มีปริ มาณฟีโรโมนเจือจาง จากความรู้ดังกล่านี้ Beckers ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไปว่า มดสามารถค้นหาเส้นทางที่ไปยังแหล่งอาหารที่มีระยะทางสั้นที่สุดได้

ที่มา: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ebd88d2a10780f5
สืบค้นเมื่อวันที่  4  กุมภาพันธ์  2556

เหตุใดเม็ดข้าวโพดแห้งจึงแตกตัวเมื่อถูกคั่ว!!


                ข้าวโพดคั่ว หรือ ป๊อปคอร์น (อังกฤษ: Popcorn) เป็นอาหารว่างอย่างหนึ่ง ผลิตจากเมล็ดข้าวโพด ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหลายชนชาติ ต้นกำเนิดข้าวโพดคั่วนั้นอยู่ในดินแดนของอินเดียแดงในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เมื่อประมาณ5,600 ปีที่ผ่านมา       

นักโบราณคดีพบหลักฐานเกี่ยวกับข้าวโพดคั่วในซากเมืองโบราณหลายแห่ง เช่น เมืองอินคาทางอเมริกาใต้ เมืองมายาในอเมริกากลาง และเมืองอัซเตกในเม็กซิโก ต่างพบการใช้ข้าวโพดจำนวนมากมาเป็นเวลานานก่อนสมัยที่โคลัมบัสมาเยือนโลกใหม่ ข้าวโพดที่คั่วจนพองขาวแล้วชาวอินเดียแดงในอเมริกาเหนือจะนำมารับประทาน และร้อยสายด้วยหญ้า ทำเป็นเครื่องประดับสำหรับหัวหน้าเผ่าหรือนักรบ รูปเคารพเทพเจ้าฝนของชาวอัซเตก และเทพเจ้าข้าวโพด บางครั้งก็ประดับด้วยข้าวโพด และในบางแห่งของเม็กซิโกในปัจจุบันวันนี้ บางครั้งก็มีการใช้พวงข้าวโพดคั่วประดับเทวรูป

                เมื่อนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษสมัยแรกๆ ได้จัดงานขอบคุณพระเจ้าครั้งแรกขึ้น ชาวอินเดียแดงนามว่า เควเดอควีนา ได้นำอาหารมาในงานเลี้ยง นั่นคือข้าวโพดคั่ว ใส่ถุงหนังกวางขนาดใหญ่     ผู้เข้าร่วมในงานได้ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นส่วนสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตแบบอเมริกา
                ถ้าเราดูจากลักษณะภายนอกของข้าวโพด อาจจะเข้าใจว่ามันแห้งดีแล้ว แต่แท้จริงภายในเม็ดข้าวโพดแห้งทุกเม็ดจะมีน้ำและความชื้นหลงเหลืออยู่เล็กน้อย เมื่อนำมาคั่วความร้อนจะทำให้น้ำหรือความชื้นภายในเม็ดข้าวโพดกลายเป็นไอระเหย ไอระเหยที่เกิดขึ้นจะดันตัวเองออกมาภายนอก แต่เนื่องจากเยื่อหุ้มเม็ดข้าวโพดแห้งมีลักษณะเหนียวแน่น เมื่อไอน้ำดันตัวเองออกมามันจึงมีลักษณะคล้ายกับการแตกระเบิดเสียงผัวะ ส่วนเม็ดข้าวโพดสดจะไม่ระเบิดเพราะเยื่อหุ้มเม็ดของมันจะมีโครงสร้างอ่อนนุ่มกว่าเม็ดข้าวโพดแห้ง

                ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังหาวิธีต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากข้าวโพดคั่วนี้ นับเป็นเส้นทางอันยาวนานไกลจากถิ่นฐานชาวอินคาเมื่อหลายศตวรรษก่อน ผู้รู้จักคั่วข้าวโพดด้วยวิธีง่ายๆ ในหม้อดิน ไปสู่ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อันซับซ้อนในปัจจุบัน

                ทีนี้เป็นไงบ้างล่ะจ๊ะ พอรู้ไหมว่าทำไมเวลาเราเอาเมล็ดข้าวโพดมาคั่วแล้วมันแตกตัว เพราะเมื่อนำมาคั่วความร้อนจะทำให้น้ำหรือความชื้นภายในเม็ดข้าวโพดกลายเป็นไอระเหย ไอระเหยที่เกิดขึ้นจะดันตัวเองออกมาภายนอก  

ที่มา : http://www.krootor.com/home.  
สืบค้นเมื่อวันที่  4  กุมภาพันธ์  2556                                                      
            

ดื่มน้ำแร่...ดีจริงหรือ?



             ต่อเนื่องเรื่องน้ำดื่มกันอีก หลังจากได้รู้กันไปแล้วว่า ดื่มน้ำน้อยหรือขาดน้ำจะก่อให้เกิดโรคใดได้บ้าง ในทางตรงกันข้าม ใครดื่มน้ำที่ไม่เหมาะบ่อยๆ หรือกินผิดน้ำ ก็ก่อร่างสร้างโรคได้เหมือนกัน แต่ก็ยังมีข้อข้องใจต้องคลายอีก สำหรับ ‘น้ำแร่’ อันเป็นที่สนใจของคนรักษ์สุขภาพ ที่ถามว่า ดื่มน้ำแร่ดีจริงหรือ
             
ก่อน อื่นต้องขอตอบให้หายสงสัยว่าน้ำแร่จริงๆ แท้ๆ คือ น้ำที่ได้จากธรรมชาติ เช่น น้ำพุ น้ำใต้ดิน ผ่านการกรองโดยธรรมชาติมาแล้ว ซึ่งจะมีแร่ธาตุผสมอยู่ อย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม เกลือ (โซเดียม) และกำมะถัน เป็นส่วนผสมหลัก                                                             เมื่อนำมาทำเป็นสินค้า หรือน้ำแร่บรรจุขวด ผู้ผลิตจะนำไปผ่านขั้นตอนการฆ่าเชื้อเพื่อความสะอาดและปลอดภัยก่อน โดยปัจจุบันมีน้ำแร่วางจำหน่ายแบ่งได้คร่าวๆ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำแร่ปรุงแต่ง’ ที่มีการเติมแร่ธาตุลงไปก่อนบรรจุขวด ชนิดต่อมา น้ำแร่ธรรมชาติจากน้ำพุร้อน’ มาจากน้ำพุใต้ดินที่พวยพุ่งขึ้นมา มักมีกำมะถันเจือปนรวมอยู่ และ ‘น้ำแร่ธรรมชาติจากน้ำพุเย็น’ ได้มาจากน้ำฝนตามธรรมชาติไหลผ่านการกรองของชั้นดินและหินลึกลงไปใต้แผ่นดินราว 1,000ฟุต                             
             
ในข้อดีของน้ำแร่ที่มีรสชาติต่างไปจากน้ำดื่มธรรมดา คือ เสริมระบบย่อยอาหาร ป้องกันฟันผุ ช่วยขับปัสสาวะลดกรดในกระเพาะอาหาร เสริมสร้างกระดูก ป้องกันโรคคอพอก รักษาสมดุลร่างกายในด้านความเป็นกรด-ด่าง รวมถึงสมดุลของน้ำในร่างกายด้วย                               
             
หากอยากได้ข้อดีจากน้ำแร่ก็ดื่มได้ไม่ต้องกังวล แต่หากร่างกายป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับไต เพราะแร่ธาตุในน้ำแร่จะตกตะกอนรวมตัวแล้วกลายเป็นนิ่วได้ ยังรวมถึงคนไข้โรคหัวใจควรเลี่ยงดื่ม เนื่องจากธาตุโพแทสเซียม ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ เช่นเดียวกับคนวัยทองที่รู้ตัวว่ามีปัญหาความดันโลหิตทำให้สูงขึ้นได้ คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงจะจุกเสียดท้องและโลหะหนักมีผลต่อทารก บ้านไหนให้เด็กๆ เน้นดื่มน้ำแร่นานวันเข้าฟันขาวๆ จะปรากฏจุดด่างดำ เพราะฟลูออไรด์นั่นเองคงไม่ฟันธงชี้ชัดว่า ดื่มน้ำแร่ดีหรือไม่ แต่จากข้อดีและข้อเสียเฉพาะบุคคลที่นำเสนอไป คงเป็นหน้าที่ของผู้อ่านแล้วล่ะคะ ว่าน้ำแร่จำเป็นต่อการเสริมสุขภาพของคุณหรือไม่?    

ที่มาhttp://www.thaihealth.or.th
สืบค้นเมื่อวันที่  4  กุมภาพันธ์  2556