วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ทำไมมดถึงรู้ว่าอาหารอยู่ไหนได้


 

มันใช้อะไรดม มันรู้ได้ยังไง อาหารอยู่ตั้งไกล

            จากการศึกษาพบว่ามดสื่อสารกันโดยใช้อวัยวะที่เรียกว่าหนวดสัมผัสกันและใช้ สารเคมีที่ปล่อยออกมา นักวิทยาศาสตร์บางท่านยังเชื่อว่ามดบางชนิดสามารถใช้เสียงสื่อสารกันได้ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่ามดบางชนิดเมื่อไปพบแหล่งอาหารก็จะปล่อยสารเคมีชนิดหนึ่ง ออกมาจากต่อมภายนอก (Exocrine gland) ที่เรียกว่าต่อมดูเฟอร์ (Dufoue's gland) สารเคมีชนิดนี้เรียกว่าฟีโรโมน มดจะปล่อยฟีโรโมนขณะเดินไปพบอาหาร และยังพบอีกว่า ฟีโรโมนนี้จะระเหยได้ทำให้ปริมาณของฟีโรโมนจะจางลงไปเรื่อยๆ ฟีโรโมนของมดบางชนิดจะจางหายไปในเวลาไม่เกิด 100 วินาทีซึ่งการระเหยของสารเคมีนี้มีประโยชน์ต่อการสื่อสารของมด กล่าวคือถ้าแหล่งอาหารเก่าหมด เจอแหล่งอาหารใหม่ มดจะสามารถติดตามกลิ่นใหม่ไปยังแหล่งอาหารได้ถูกต้อง ไม่สับสนกับกลิ่นเดิม นอกจากนี้ยังพบว่ามดชอบเดินตามรอยฟีโรโมนที่มีกลิ่นแรงมากกว่ากลิ่นที่จาง
Beckers, Deneuberg และคณะ พบว่ามดสามารถหาเส้นทางที่สั้นที่สุดจากรังไปสู่แหล่งอาหารได้ ถึงแม้จะมีสิ่งอื่นมารบกวนระหว่างเส้นทางที่เดินทางก็ตาม ดังตัวอย่างการทดลองนำอาหารไปไว้ใกล้รังมด เขาพบว่ามดจะเดินตามกันไปและกลับตามเส้นตรงที่ลากไว้ระหว่างรังกับอาหาร ดังภาพ
การเดินตามกันไปนี้มดจะเดินตามกลิ่นของฟีโรโมนที่มดตัวหน้าปล่อยไว้ เพราะฉะนั้นปริมาณฟีโรโมนตามเส้นทางจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นตามจำนวนมดที่เดินไป ถึงแม้จะมีบางส่วนระเหยไปบ้างก็ตาม และพบว่ามดจะเดินไปตามเส้นทางที่มีปริมาณฟีโรโมนเข้มข้นกว่าเส้นทางที่มีปริ มาณฟีโรโมนเจือจาง จากความรู้ดังกล่านี้ Beckers ใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อไปว่า มดสามารถค้นหาเส้นทางที่ไปยังแหล่งอาหารที่มีระยะทางสั้นที่สุดได้

ที่มา: http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6ebd88d2a10780f5
สืบค้นเมื่อวันที่  4  กุมภาพันธ์  2556

2 ความคิดเห็น: